การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ชี้แจงกรณีข้อเสนอการปรับแบบแปลนก่อสร้าง รถไฟทางคู่ และ รถไฟความเร็วสูง ที่ผ่านพื้นที่ตำบลโคกกรวด และตำบลบ้านใหม่ จังหวัด นครราชสีมา (24 ม.ค. 2565) ตามที่มีตัวแทนประชาชนในพื้นที่ตำบลโคกกรวด และตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัด นครราชสีมา ได้แสดงความเห็น และเสนอให้มีการปรับแบบแปลนการก่อสร้าง รถไฟทางคู่ และ รถไฟความเร็วสูง เพื่อไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น
นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม
ชี้แจงว่า ที่ผ่านมาในการดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของ รฟท. ได้มีการดำเนินการด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนมาโดยตลอด รวมถึงในส่วนโครงการก่อสร้างทางรถไฟที่พาดผ่านพื้นที่ตำบลโคกกรวด และตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ก็ได้มีการปรับปรุงรายละเอียดโครงการตามที่ได้หารือกับเทศบาลตำบลบ้านใหม่และจังหวัดนครราชสีมา รวมถึงผ่านขั้นตอนการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการศึกษาออกแบบรายละเอียดและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ก่อนจะนำมาสู่รูปแบบการก่อสร้าง ปัจจุบันพื้นที่ 2 ตำบลดังกล่าว อยู่ระหว่างการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่ว’กรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา) และอยู่ในแผนดำเนินงานโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 ช่วง มาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ สัญญาที่ 2 ช่วง คลองขนานจิตร – ชุมทางถนนจิระ ซึ่ง ได้ดำเนินการตามข้อเรียกร้องของพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านใหม่ ที่ต้องการให้ปรับรูปแบบโครงสร้างทางรถไฟแล้ว
โดยนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่า รฟท. และคณะได้มีการลงพื้นที่ จ.นครราชสีมา เพื่อรับทราบปัญหาของโครงการ ที่อาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ จากการพิจารณาแก้ไขปัญหาดังกล่าว ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า สามารถปรับเพิ่มขนาดความสูงของทางลอดให้มากขึ้นได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ จากเดิมความสูงของทางลอด 3.5 เมตรนั้น สามารถปรับเพื่มความสูงเป็น 4 ถึง 5 เมตร เพื่อให้ยานพาหนะขนาดใหญ่สามารถลอดผ่านใช้งานได้ ส่วนข้อเสนอเพิ่มเติมที่ต้องการให้ปรับเปลี่ยนแบบก่อสร้างจากการยกระดับแบบคันดินเป็นการยกระดับแบบตอม่อนั้น รฟท. ได้รับเรื่องไว้พิจารณาแล้ว
อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณารูปแบบของโครงสร้างทางรถไฟที่เหมาะสมนั้น จะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมทางด้านอื่น ทั้งด้านวิศวกรรม ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและการเงิน รวมทั้งความเหมาะสมในการลดผลกระทบต่อชุมชนในพื้นที่ในระยะยาวควบคู่กันไปด้วยนอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงผลกระทบในภาพรวมอันจะเกิดต่อผู้ใช้บริการรถไฟ อาทิ แผนการเปิดให้บริการที่อาจจะล่าช้าออกไปอันเนื่องมาจากการปรับแบบ รวมถึงเรื่องกรอบงบประมาณของโครงการก่อสร้างที่ต้องเพิ่มเติมขึ้น ซึ่งในส่วนของโครงการรถไฟความเร็วสูงได้ลงนามสัญญาแล้ว และอยู่ระหว่างดำเนินการ เป็นต้น
ท้ายนี้ รฟท. ขอเรียนย้ำว่าพร้อมรับฟัง และความคิดเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อนำมาพิจารณาในมิติต่างๆอย่างรอบด้าน ให้มีความครอบคลุมและครบถ้วน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของการให้บริการต่อประชาชนโดยรวมเป็นสำคัญ
สมาคมจิตแพทย์โพสต์อาลัย หมอกระต่าย เคสที่มากกว่า การสูญเสียผู้หญิงหนึ่งคน
หมอกระต่าย เคสที่มากกว่า การสูญเสียผู้หญิงหนึ่งคน สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย โพสต์อาลัย จักษุแพทย์คนเก่ง คนไข้โรคตานับไม่ถ้วน สูญเสียแพทย์เฉพาะทางในสาขาที่ขาดแคลน
เฟซบุ๊กแฟนเพจ สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย โพสต์อาลัย หมอกระต่าย เมื่อวันที่ 24 ม.ค.65 เหยื่อตำรวจซิ่งบิ๊กไบค์ชนเสียชีวิตขณะข้ามทางม้าลาย โดยสมาคมจิตแพทย์ฯ ระบุ กรณีของคุณหมอ ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่คนๆหนึ่งหายไป แต่ยังส่งผลถึงการใช้ชีวิตของคนที่ยังอยู่ รวมถึงคนไข้โรคตาที่ต้องสูญเสียหมอเฉพาะทาง แถมยังเป็นสาขาที่กำลังขาดแคลน ในไทยมีเพียงหลัก 10 คนในประเทศ
ข้อความจากโพสต์ทั้งหมด บรรยายไว้ ดังนี้ #ความสั่นคลอนในการใช้ชีวิตของคนที่ยังอยู่ การเสียชีวิตของ พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล หรือ คุณหมอกระต่าย เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2565 จากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์บิ้กไบค์ชน ขณะเดินข้ามถนนบริเวณทางม้าลาย นับเป็นความสูญเสียของวงการแพทย์ไทยที่ใหญ่หลวง เนื่องจากคุณหมอเป็นจักษุแพทย์ที่จบเฉพาะทางอนุสาขาขาดแคลน อีก 2 อนุสาขา ซึ่งมีเพียงหลักสิบคนในประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม หากมองในฐานะประชาชนในสังคม ในฐานะคนเดินเท้า ใช้รถใช้ถนนไม่ว่า ‘ชีวิต’ ไหนก็ล้วน ‘มีค่า’ นอกจากผลการดำเนินคดีที่หลายคนกังวลว่าจะไม่ตรงไปตรงมาแล้วหลายคนก็ตั้งคำถามถึง ‘ความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน’ ในการใช้ชีวิต และทวงถามบทลงโทษที่ควรถูกบังคับใช้อย่างจริงจัง เพราะในต่างประเทศที่ผู้ขับขี่หยุดรถ เสมอ ที่ทางม้าลาย หรือ ป้าย’หยุด’ นั้น เป็นเพราะบทลงโทษที่รุนแรงและถูกบังคับใช้จริงจากผู้พิทักษ์สันติราษฏร์ จนเกิดเป็นความเคยชินในการปฏิบัติตามกฎ หาใช่เพราะจิตสำนึกที่เกิดขึ้นมาเอง หรือ การอบรมบ่มนิสัยจากครอบครัวเป็นหลัก เรา ‘ปรับตัว’ ให้อยู่ร่วมกับโรคระบาดที่ยืดเยื้อนานหลายปีได้ ด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แต่เราจะต้องทำอย่างไร จึงจะรักษาชีวิตให้ยืนยาวได้ … ไม่ต้องจบลงเพราะโครงสร้างพื้นฐานของเมืองที่ไม่ปลอดภัย หรือการกระทำโดยประมาทของใครบางคน ?
.. การที่ผู้เห็นเหตุการณ์ อาจประสบภาวะผิดปกติทางจิตใจจากการประสบเหตุการณ์รุนแรง ( Acute Stress Disorder (ASD) http://bit.ly/ThaiPsyASD )
Credit : milkisinaisle4.com motoclubaitona.org myriadwebs.net newagera.org nharicot.com noonuishopping.com omxtra.net ostranula.com paasthailand.com pantailaseguruak.net